send link to app

NRBI


4.6 ( 9696 ratings )
商务 财务
开发 Nattapat Pruangpharch
自由

พื้นที่ชายแดนเป็นพื้นที่เกิดใหม่ที่ควรได้รับการติดตามสถานการณ์ของข้อมูลด้านเศรษฐกิจและเพื่อนำมาประกอบกับการตัดสินใจด้านการค้าและการลงทุนของภาคธุรกิจบริการ ซึ่งกลายมาเป็นกิจกรรมทางสังคมที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจแทนที่ภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรมที่กำลังเข้าสู่ภาวะอิ่มตัว ทั้งนี้ ด้วยความที่พื้นที่ชายแดนมีความเคลื่อนไหวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสูง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนของวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ขยับจากสังคมชนบทไปสู่สังคมเมือง (Urbanization) อย่างเต็มตัว เช่นเดียวกันกับพื้นที่ชายแดนของประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว และเมียนมาร์ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพื้นที่เมืองโดยรวม เป็นผลให้มีการเพิ่มขึ้นของกลุ่มคนชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อสูง ดังนั้น ชายแดนจึงมีการเข้ามาของกลุ่มนักท่องเที่ยว ทั้งที่คนไทยและและคนต่างชาติจำนวนมาก การพัฒนาระบบนิเวศทางธุรกิจของภาคบริการในพื้นที่ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจทางการค้าและการลงทุน ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน จึงควรที่จะมีระบบธุรกิจอัจฉิรยะที่แสดงผลการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่
การสร้างระบบอัจฉริยะเป็นมีส่วนช่วยในการตัดสินใจของผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจอย่างมาก เนื่องจาก ระบบอัจฉริยะได้มีการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสำคัญในพื้นที่ ซึ่งสามารถทำการวิเคราะห์ได้โดยตรง อาทิ จำนวนประชากร อายุ เพศ เชื้อชาติ สัญชาติ จำนวนครัวเรือน รายได้เฉลี่ยต่อหัว การจ้างงาน กำลังซื้อ ระยะทาง เป็นต้น หากนำมาบูรณาการร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) จะทำให้ผู้ประกอบการมีฐานข้อมูลเชิงมหภาคที่ทำให้มองเห็นภาพรวมของเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการแสดงผลข้อมูลได้ตามเวลาจริง (Real-time) ที่ชี้ให้เห็นถึงการขยายตัวของชุมชนเมืองในพื้นที่ชายแดน พร้อมทั้งทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาชนในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระบบประกอบไปด้วย
- การแสดงผลข้อมูลปฐมภูมิของผู้บริโภค และผู้ผลิตในรูปแบบของกราฟ
- การแสดงผลบทวิเคราะห์เชิงธุรกิจเพื่อประกอบการตัดสินใจ
- การแสดงผลข้อมูลทุติยภูมิในพื้นที่จังหวัด เชียงราย แพร่ น่าน และพะเยา